🔥 ฮีทสโตรก อันตรายในช่วง หน้าร้อน 🔥

🔥 ฮีทสโตรก อันตรายในช่วง หน้าร้อน 🔥
ฮีทสโตรก Heatstroke อากาศร้อน อาการ ป้องกัน ปฐมพยาบาล
4 / 5 / 2024
🔥 ฮีทสโตรก อันตรายในช่วง หน้าร้อน 🔥

อาการฮีทสโตรก การป้องกันฮีทสโตรก และ การปฐมพยาบาลผู้มีอาการฮีทสโตรก (เบื้องต้น)

โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เกิดจากอะไร


เกิดจากอุณหภูมิของร่างกายเราสูงมากจนเกินไป ไม่สามารถที่จะขับอุณหภูมิออกได้  แล้วมีลักษณะอาการเหมือนจะเป็นลม คือมีอาการวิงเวียนเป็นหลัก สาเหตุเนื่องจากร่างกายเราถูกแสงแดดมากเกินไป หรืออยู่ในที่อากาศร้อนอบอ้าว  ร่างกายไม่สามารถที่จะถ่ายเทอากาศออกได้ และทำให้ความร้อนในร่างกายไม่สามารถที่จะระเหยออกไปได้  เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไป  โดยอาจจะเกิดจากสถานที่ร้อน หรือออกกำลังกายมากเกินไป  ทำให้กล้ามเนื้อสร้างความร้อนมาก ก็อาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ร่างกายรับไม่ไหว จึงเกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง การหายใจล้มเหลวได้

สัญญาณเตือนการเป็นโรคลมแดด

  1. ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำมาก ร่างกายเราจะขาดน้ำเพราะอุณหภูมิสูงเกินไป
  2. มีอาการเวียนศีรษะ มองอะไรแล้ว งงๆ มึนๆ
  3. สังเกตเหงื่อของคนไข้ จะแห้ง ผิวแห้ง แล้วมีการระเหยของน้ำหมด ทำให้ระบบประสาททำงานไม่ปกติ

เราป้องกันโรคลมแดดได้อย่างไรบ้าง

  1. เมื่อเรารู้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่อโรคลมแดด เกิดจากการที่เราไปสัมผัสอากาศร้อนมากและนานเกินไป ต้องหลีกเลี่ยงตรงบริเวณนั้น
  2. บุคคลที่มีความเสี่ยงคือเด็กและผู้สูงวัย ที่ได้รับยาบางชนิดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
  3. พยายามอยู่ในที่มีการระเหยหรือว่าลดความร้อนได้ เช่น ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ไม่อึกอัดจนเกินไป
  4. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ คือสามารถที่จะหยิบน้ำขึ้นมาดื่มได้ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคลมแดดได้ หรือ วันหนึ่งควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 1 ลิตรต่อวัน คือให้ได้ 8 แก้วต่อวัน หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง  ให้สวมหมวก เสื้อ         ผ้าระบายความร้อนได้ดี

หากเราพบผู้ป่วยโรคลมแดด ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร

     หลักการโดยง่ายในการรักษาโรคลมแดด คือทำอย่างไรก็ได้ให้อุณหภูมิของร่างกายลดให้ลงเร็วที่สุด  ในบางกรณีคนไข้อาจช่วยเหลือตัวเองไม่ดีเท่าที่ควร เพราะอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบางราย จะมีอาการกล้ามเนื้อเกรง  เดินโซเซ เมื่อพบเห็นควรปฐมพยาบาล ดังต่อไปนี้

  1. พาผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในที่ร่มก่อน
  2. ให้ระบายอากาศอย่างรวดเร็ว เช่นปลดกระดุมเสื้อ หากเสื้อผ้าหนาให้ถอดออกเพื่อระบายอุณหภูมิในร่างกาย
  3. หากผู้ป่วยยังมีสติให้ดื่มน้ำเย็น ในกรณีหมดสติหลีกเลี่ยงการป้อนน้ำเพราะจะทำให้คนไข้เกิดอาการสำลัก นอกจากนี้ให้นำผ้าเย็นประคบตามซอกต่างๆของร่างกายผู้ป่วย เพื่อให้ความร้อนระเหยไปตามผ้า หลังจากนั้นนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด


❤️ ด้วยความาปรารถณาดีจาก #KRCSHOP ครับ ❤️

Credit (เครดิต) : งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช. / กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค

RELATED CONTENTS