🚁💦💦💦 โดรนพ่นยาลำใหญ่ บินยังไงข้าวไม่ล้ม 🌾🌾🌾

🚁💦💦💦 โดรนพ่นยาลำใหญ่ บินยังไงข้าวไม่ล้ม 🌾🌾🌾
โดรนเกษตร โดรนพ่นยา รุ่นใหนดี เลือกซื้อโดรนเกษตร DJI
30 / 7 / 2021
🚁💦💦💦 โดรนพ่นยาลำใหญ่ บินยังไงข้าวไม่ล้ม 🌾🌾🌾

เกษตรกรหลายๆคนพูดว่า ไม่ชอบโดรนพ่นยาลำใหญ่ๆ (เช่น DJI T20 และ DJI T30) เพราะพอข้าวโตและออกรวง ลมแรงๆของโดรนขนาดใหญ่ จะทำให้ข้าวล้ม โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ที่มีลำต้นสูงและรวงใหญ่ จะยิ่งล้มง่าย



KRCSHOP ขอนำเสนอวิธีการควบคุมโดรนเกษตร เพื่อบินพ่นฮอร์โมน เมื่อข้าวที่มีลำต้นสูงออกรวงล้มง่ายเมื่อโดนลมกด

ขณะที่เราบินอยู่ในโหมดอัตโนมัติ โดรนจะรักษาความสูงคงที่โดยจะเพิ่มและลดความสูงอัตโนมัติตามที่เราตั้งไว้ว่าให้สูงกว่ายอดข้าวกี่เมตร
ปัญหาข้าวล้มไม่ได้เกิดขณะที่โดรนบินด้วยความเร็ว (ช่วงกลางๆแปลงนา) แต่จะเกิดเมื่อโดรนชะลอความเร็วเพื่อกลับตัวที่ส่วนขอบนาหรือลอยนิ่งๆ

ดังนั้น TEAMKRC ขอแนะนำขั้นตอนในการบินดังนี้
👉🏻 เมื่อโดรนเริ่มชะลอความเร็วเพื่อจะกลับตัว (ลมที่พุ่งลงตรงๆจะเริ่มแรงขึ้นเรื่อยๆทำให้ข้าวล้มได้)
👉🏻 เมื่อเห็นว่าโดรนเพิ่มชะลอ ให้ทำการยกคันโยกควบคุมความสูง (สติ๊กซ้าย ใน MODE2) ขึ้นตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มความสูงของตัวโดรน
👉🏻 คำถามต่อมา จะยกคันโยกมากหรือน้อย? เรื่องนี้ต้องลองและฝึกฝนดูนะครับ
👉🏻 เมื่อโดรนบินมาจนถึงขอบแปลงนา โดรนจะหยุด เราจะยังคงยกคันโยกไว้เพื่อประคองความสูงนะครับ
👉🏻 และสุดท้าย เมื่อถึงจังหวะที่โดรนเริ่มบินกลับไปในทิศทางตรงกันข้าม ให้เราปล่อยคันโยกได้เลย โดรนจะค่อยๆลดระดับลงมาจนถึงความสูงที่เรากำหนดไว้เองโดนอัตโนมัติ

เท่านี้เราก็สามารถฉีดพ่นฮอร์โมนข้าวได้โดยที่ข้าวรวงใหญ่ๆของเราไม่ล้มแล้วครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับนักบินโดรนเกษตรนะครับ

บทความโดย TEAMKRC


ปล. อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่
1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย
2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต้นข้าว และเพิ่มความอิ่มน้ำของเซลล์พืช ทำให้หักล้มได้ง่ายขึ้น การใส่ที่ไม่ถูกช่วงเวลาโดยปกติช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากที่สุดคือ ช่วงระยะปักดำ และช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง หากใส่ผิดช่วงจะทำให้สูญเสียปุ๋ยและเป็นการทำให้ต้นข้าวเจริญทางใบมากเกินไป
3. ความเข้มของแสง ลมและฝน ถ้าปลูกข้าวผิดช่วงเวลาฤดูกาลอาจได้รับผลกระทบจากลมและฝนได้ และข้าวที่ปลูกหน้าแล้งหรือข้าวนาปรัง จะมีต้นเตี้ยกว่าข้าวที่ปลูกหน้าฝนฤดูนาปี
4. ส่วนที่สำคัญที่สุด ที่มีผลกระทบต่อการล้มของข้าวคือ วีธีการปลูก และระยะห่างระหว่างกอข้าว ข้าวที่ปลูกด้วยวิธี "นาดำ" จะมีรากที่ลึกลงไปในดิน ทำให้ลดการหักล้มได้มากกว่าข้าวนาหว่าน ที่รากเจิญเติบโตอยู่ที่ผิวดิน และการปักดำทำให้สามารถกำหนดระยะความถี่ห่างได้เหมาะสมกับพันธุ์ข้าว และความสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งเมื่อข้าวมีระยะห่างที่เหมาะสมจะมีการแตกกอได้ดี และไม่ต้องโตแข่งความสูงเพื่อแย่งแสงแดด ทำให้ข้าวนาดำมีต้นที่เตี้ยกว่านาหว่าน เป็นผลให้ "ข้าวนาดำ ล้มยากกว่านาหว่าน" นั่นเอง

RELATED CONTENTS